วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตารางเปรียบเทียบ ADSL และ ISDN


คุณสมบัติ
ADSL
ISDN
ความเร็ว
8Mbps./ 1Mbps.(Download/ Upload)
128Kbps
การเชื่อมต่อ
ติดต่อตลอดเวลา (Always On)
- เชื่อมต่อได้ทันทีที่ต้องการ
- หมดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด
- การใช้งานในลักษณะ Point to Point สามารถทำได้ แต่ต้องอาศัยการตั้งค่า ที่ผู้ให้บริการ 
หมุนโทรศัพท์เมื่อต้องการใช้งาน (Dial-up)
- ใช้เวลาสร้าง connection ประมาณ 45 วินาที - 1 นาที
- เกิดปัญหาเช่นเดียวกับ 56K Modem คือปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด
- สะดวกในการใช้งานในลักษณะ Point - Point เช่น หากต้องการทำ Video Conference กับเลขหมาย ISDN ใดก็สามารถหมุนได้ทันที
ใช้งานโทรศัพท์ ขณะเชื่อมต่อ
ได้
ได้ (แต่จะเหลือ Bandwidth สำหรับใช้ส่งข้อมูลเพียง 64Kbps.)
ข้อได้เปรียบ
- ความเร็ว
- Always On
- ไม่มีปัญหาสายหลุด สายไม่ว่าง
- ไม่จำเป็นต้องขอสายใหม่
- ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
- ใช้งานแบบ Point to Point ได้สะดวกมากกว่า
ข้อเสียเปรียบ
-พี้นที่ให้บริการจำกัด แต่ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- พื้นที่ให้บริการจำกัด และไม่ขยายเพิ่ม จากที่มีในปัจจุบันอีกแล้ว
- ปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด
- ต้องขอสาย ISDN ใหม่ 

*ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตนะครับ ข้อมูลนี้หาเอาไว้นานมาก หาต้นฉบับไม่เจอ ขออนุญาตลงเป็นวิทยาทานนะครับ ถ้าใครเจอต้นฉบับบอกผมด้วยจะได้อ้างอิงถูกครับ

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

NAT



การสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะมีการกำหนด IP Address ซึ่งเป็นหมายเลขที่ใช้สำหรับระบุตัวตนของผู้ใช้งาน (หมายเลข IP จะเป็นกลุ่มเลข 4 ชุด เช่น 202.153.148.21 เป็นต้น) ซึ่งแต่ละคนจะมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตามโดยปกติ IP Address ของคุณที่ได้รับเวลาเล่น internet ผ่านทาง ISP จะได้รับเป็นหมายเลขแบบสุ่ม


ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Internet มากมาย ทำให้ IP Address ที่แจกจ่ายให้นั้น ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหา IP ไม่เพียงพอ สามารถทำได้โดยใช้วิธีการทำ Network Addrsss Translation (NAT) หรือการสร้างตารางการจับคู่ของ IP แบบสุ่ม (ตัวอย่าง : สมมุติว่าองค์กรมีคอมพิวเตอร์ 50 เครื่องที่ต้องการเล่น internet และมี Registered IP จาก ISP 2 หมายเลข การทำ NAT แบบสุ่ม จะมีการตรวจสอบว่า IP ใดว่างก็จะมีการใช้ IP นั้นๆ) สำหรับอุปกรณ์สำหรับทำ NAT สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router หรือ Firewall
หลักการทำงานของ NAT


โดยทั่วไปในระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มี Server เป็น Windows NT, 2000 server จะมีการกำหนด IP ภายในองค์กรที่เรียกว่า private IP เช่น 192.168.0.1 หรือ 10.0.0.1 เป็นต้น IP เหล่านี้จะเป็น IP จะไม่สามารถนำไปใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ตได้ การทำ NAT จะเป็นการแปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ หรือที่เราเรียกว่า Registered IP
เรื่องน่ารู้ เพิ่มเติม เกี่ยวกับ NAPT


จากรายละเอียดข้างต้น ยังไม่สามารถอธิบายความสามารถของการทำ NAT ได้ ดังนั้นขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NAPT : Network Address Port Translation โดยรายละเอียดแล้ว การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ช่องทางสื่อสาร TCP/IP จะประกอบด้วย 

Source IP Address
Source Port
Destination IP Addrss
Destination Port


ซึ่งทั้งหมดนี้ รวมเรียกว่า Socket และตัว Socket นี้เองจะเป็นตัวกำหนดว่าการสื่อสารนั้นยังคงดำเนินการต่ออยู่หรือไม่ และเนื่องจากจำนวน port ใน Firewall จะมีจำนวน ports ถึง 65,535 (สำหรับ server 1024 ports) ดังนั้นจะมี ports คงเหลือ 64,511 ทำให้เราสามารถต่ออินเตอร์เน็ตภายในองค์กร โดยใช้ Registred IP เพียงไม่กี่หมายเลข และนี่คือความสามารถพิเศษในการใช้งานในส่วนของ NAPT นั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อการประชุมทางไกล ตอนที่ 3 | Lead line

LEASED LINE เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงรับ-ส่งสัญญาณ ภาพ เสียง และข้อมูล ระหว่างสถานที่ 2 แห่ง สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยจากการละเมิดข้อมูล และยังสามารถเลือกใช้ความเร็ว ในการรับ-ส่งได้ตามความต้องการและลักษณะการใช้งานตั้งแต่ความเร็ว 9.6 Kbps จนถึงความเร็ว 155 Mbps ตามมาตรฐานของ ITU โดยมีศูนย์ควบคุมการทำงานของโครงข่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ NMS (Network Management System)

Leased Line ใช้งานตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจ คือ
          - ธุรกิจขนาดเล็ก มีความต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย เพราะเป็นบริการแบบค่าใช้จ่ายคงที่ เหมาจ่าย
          - ธุรกิจประเภทการเงินการ ธนาคาร และธุรกิจที่ต้องการรับ-ส่งข้อมูลเป็นปริมาณมาก ใช้ Leased Line ในการเชื่อมโยงโครงข่ายจากศูนย์ข้อมูลหลักไปยังสาขาย่อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ LAN (Local Area Network) WAN (Wide Area Network)
          - การถ่ายทอดสดรายการ โทรทัศน์ เป็นการรับส่งสัญญาณ เสียง และข้อมูลด้วยช่องสัญญาณที่มีความกว้าง (Bandwidth) ภายใต้โครงข่ายใยแก้วนำแสง ซึ่งคุณภาพในการรับส่งจะมีความรวดเร็ว ต่อเนื่อง ไม่มีการ Delay
          - ธุรกิจประเภทผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ต ธุรกิจ e-Commerce สามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียงและข้อมูล ด้วยความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้พร้อมกันถึง 30 User โดยใช้เลขหมายโทรศัพท์เพียงเลขหมายเดียว

ประสิทธิภาพของ Leased Line
          - ใช้เทคโนโลยีโครงข่ายใยแก้วนำแสง ทำให้มั่นใจในการรับ-ส่งสัญญาณภาพ เสียง ข้อมูล ที่ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย
          - ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ NMS (Network Management Service) ทำให้ตรวจสอบแก้ไขเหตุขัดข้องให้ผู้ใช้บริการได้ทั่วประเทศ
          - กรณีเกิดเหตุขัดข้อง สามารถเปลี่ยนการรับ-ส่งข้อมูลไปยังเส้นทางสำรองได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
          - สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วย อัตราค่าบริการคงที่เท่ากันทุกเดือน


วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นอกเรื่อง | คืนชีพอุปกรณ์ประชุมทางไกล

            สวัสดีครับ ช่วงนี้งานเยอะเหลือเกิน ไม่มีเวลามาเขียนบล๊อคเลย จะบอกว่าผมได้มีโอกาสชุบชีวิตเครื่อง Teleconference รุ่นเก๋า ให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง
            เรื่องของเรื่องก็คือ วันหนึ่งมีคนโทรมาหาผม ด้วยความสงสัยว่าอุปกรณ์การประชุมทางไกลที่หน่วยงานของเขาที่มีอยู่นั้นมันยังทำงานได้อยู่หรือเปล่า เนื่องจากมันมีอายุประมาณ 7 ปีแล้ว....

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อการประชุมทางไกล ตอนที่ 2 | ADSL

            สวัสดีครับ ตอนนี้ เป็นตอนที่ 2 นะครับ ต่อจากระบบ ISDN ผมขอนำเสนอระบบที่ใหม่ขึ้นมาอีกนิดคือระบบ ADSL ครับ ADSL ย่อมาจาก Asynchronous Digital Subscriber Line ซึ่งเป็นระบบที่ใช้โมเด็มรูปแบบใหม่ คือสามารถใช้ระบบโทรศัพท์สายคู่ตีเกรียวแบบเดิม ให้มีศักยภาพในการรับ ส่งข้อมูลในปริมาณมากๆ ได้ ในช่วงแรกมีความเร็วมากถึง 6 Mbps (เทียบกับโมเด็มรุ่นแรก 56 Kb นี่ฟ้ากับเหวเลย) โดยระบบ ADSL นี้ทำให้สายโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่สามารถสื่อสารได้ 2 ทางโดยใช้สายเคเบิ้ลที่มีอยู่เดิมได้เลยครับ

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อการประชุมทางไกล ตอนที่ 1 | ISDN

ISDN (Integrated Services Digital Network)


เป็นระบบการสื่อสารในยุคที่เทคโนโลยีดิจิตอลเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยระบบนี้ยังยึดการทำงานผ่านสัญญาณโทรศัพท์อยู่ แต่มีการส่ง และรับข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น โดยได้รับการสนุนการหัฒนาจาก ITU โดยเน้นให้มีความเร็วมากกว่า model 56 Kb ที่ใช้ตามบ้านทั่วไป (เด็กสมัยใหม่อาจจะนึกไม่ออกว่าการเล่นอินเตอร์เน็ตในความเร็ว 56 Kb มันจะรู้สึกยังไง)

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานด้านเสียง | Audio Standart

            ผ่านเรื่องภาพมาแล้ว เราก็มาต่อกันที่เรื่องเสียงบ้างก็แล้วกันนะครับ ในการเข้ารหัสภาพจะใช้ H แต่ในเรื่องของเสียงจะใช้ G ครับ ในมาตรฐานด้านเสียงของการประชุมทางไกล จะสามารถแยกออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานการเข้ารหัสภาพ (H)

            เมื่อตอนที่แล้วติดค้างเรื่องรายละเอียดของการบีบอัดสัญญาณภาพ และเสียงในมาตรฐานต่างๆเพื่อการ Codec ตามที่ ITU กำหนดไว้ ไม่ต้องเกริ่นมาก มาดูกันที่ผมว่าเยอะมันมีกี่มาตรฐานกันแน่

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สหภาพโทรคนมนาคมระหว่าประเทศ | ITU

            ในเนื้อหาก่อนหน้านี้ และต่อจากนี้ผมอาจจะกล่าวถึงคำว่า ITU บ่อยขึ้น ถ้าจะไม่อธิบายเลยก็คงไม่เหมาะนัก งั้นเรามาทำความรู้จักกับ ITU กันหน่อย

ธงสัญลักษณ์ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

            ITU (International Telecommunication Union) หรือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ คือ องค์กรชำนาญการพิเศษของ UN หรือ สหประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรสากลที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ที่ยังคงมีการดำเนินงานอยู่

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานการเข้ารหัสภาพ | Video Standart

            ในการทำระบบการประชุมทางไกลนั้น มีการกำหนดมาตรฐานการเข้ารหัสสัญญาณภาพ ไว้หลากหลายรูปแบบ บางมาตรฐานก็มีความใกล้เคียงกันกับระบบสัญญาณภาพที่ใช้ในสื่ออื่น สำหรับวันนี้จะขอเขียนแค่มาตรฐานการเข้ารหัสสัญญาณภาพที่ใช้กับการประชุมทางไกลเท่านั้น แต่ก่อนอื่นต้องแยกเรื่องความละเอียดของภาพ กับขนาดออกจากกันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

การแปรสัญญาณ | Codec

            การแปรสัญญาณภาพ เสียง และสื่อต่างๆ เพื่อใช้ในการประชุมทางไกลนั้น จัดได้ว่าเป็นหัวใจหลักเลยก็ว่า ในทางเทคนิคนั้น เราเรียกการแปรสัญญาณว่า "Codec" ซึ่งถ้าผู้อ่านทำงานอยู่ในวงการโสตฯ ก็คงคุ้นเคย แต่กับบางคนที่ได้สนทนากับผู้ใช้งานระบบการประชุมทางไกลมาบ้าง ก็อาจจะได้ยินประโยคที่ว่า "วันนี้เรา connect กันด้วย Codec นะครับ" จริงๆ ถ้าจะว่ากันตรงๆ อุปกรณ์แปรสัญญาณการประชุมทางไกล

รูปแบบการประชุมทางไกล Teleconference

            ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องการแยกประเภทของการประชุมทางไกล มันก็ออกจะเป็นเรื่องที่ยากอยู่ เพราะมันสามารถแยกออกได้จากหลากหลายปัจจัย แต่ถ้าถามผม ผมจะแยกรูปแบบการประชุมทางไกล Teleconference ออกจาก Potocol ที่ระบบใช้อยู่ นั่นก็หมายความว่า ระบบที่ใช้อยู่มันวิ่งอยู่บนเทคโนโลยีใด ผมจะพูดถึงแต่ระบบที่ใช้เป็นระบบเปิดเท่านั้นนะครับ ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบสองทางผมจะไม่นับเป็นระบบการ Teleconference เนื่องจากบริบทในการทำงานมันแตกต่างกัน

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

เปิดระบบ | Turn on

            สวัสดีครับชาวโลกทุกท่าน ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสารสนเทศ ที่พวกเราเรียกกันว่า การประชุมทางไกล Teleconference หรือ การเรียนการสอนทางไกล หรือ Video conference หรืออะไรก็ตามแต่ที่ผมแปลเอาเองง่ายๆ ว่าคุณจะสามารถสนทนากับบุคคลอีกคนหนึ่ง หรืออีกกลุ่มหนึ่ง แบบเห็นหน้าค่าตา ได้ยินเสียงกันแบบทันทีได้โดยที่เราอยู่กันไกลแสนไกลตราบใดที่ระบบสารสนเทศยังมีบริการไปถึง