วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบการประชุมทางไกล Teleconference

            ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องการแยกประเภทของการประชุมทางไกล มันก็ออกจะเป็นเรื่องที่ยากอยู่ เพราะมันสามารถแยกออกได้จากหลากหลายปัจจัย แต่ถ้าถามผม ผมจะแยกรูปแบบการประชุมทางไกล Teleconference ออกจาก Potocol ที่ระบบใช้อยู่ นั่นก็หมายความว่า ระบบที่ใช้อยู่มันวิ่งอยู่บนเทคโนโลยีใด ผมจะพูดถึงแต่ระบบที่ใช้เป็นระบบเปิดเท่านั้นนะครับ ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบสองทางผมจะไม่นับเป็นระบบการ Teleconference เนื่องจากบริบทในการทำงานมันแตกต่างกัน


            สำหรับผมเองจะขอพูดรูปแบบโดยรวมทั้งหมด ทั้งเก่า และใหม่ แต่ก็คงจะอธิบายแค่รูปแบบการประชุมทางไกลที่มีขาย มีให้ใช้กันตามท้องตลาด(ระบบทดสอบ หรือโปรเจคต่างๆ ไม่นับ) และจะขอบีบให้แคบแต่รูปแบบที่มีใช้ในไทยเท่านั้นนะครับ

            ระบบโทรศัพท์ Telephone conference


            ผมถือว่าโชคดีที่มาทันระบบนี้นะครับ ระบบนี้ถือได้ว่าเป็นระบบการ Teleconference เริ่มแรกที่ยอมให้พลเรือนใช้ และมีการผลิตเชิญธุรกิจ อุปกรณ์ Teleconference ระบบนี้เครื่องแรกๆ หน้าตาเป็นยังไงผมก็ไม่แน่ใจ แต่เท่าที่ผมทันเห็นก็มีลัษณะเป็นจานบินแบบนี้แหละครับ รุ่นต่อๆ มาก็ได้พัฒนาแยกไมค์ออกมาจากตัวเครื่อง โดยใช้ไมค์เซอร์ราว์น (แต่เราเรียกกันเล่นๆ ว่าไมค์ปลาดาว) แยกตัวจากลำโพง เพื่อลดปัญหาการวนซ้ำของเสียง ในยุคแรกๆ แน่นอนครับ มันทำงานแบบจุดต่อจุด (Point to point)ก็เหมือนโทรศัพท์ปกตินี่แหละ ต่อมาเมื่อมีระบบโทรศัพท์ดิจิตอลก็เริ่มมีการพัฒนาเป็นระบบ Three-way calling หรือการสนทนา 3 สาย และกลายมาเป็น Call party หรือการสนทนาหลายจุด นอกจากนี้รูปแบบการประชุมทางไกลนี้ยังมืชื่ออื่นอีก เช่น Conference call , ATC (Audio Tele-Conference) , VoIP (Voice over IP) เป็นต้น
          

            ระบบวิดีโอทางไกล Video conference

         
            รูปแบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรของรัฐ และเอกชนที่ค่อนข้างมีกำลังซื้อครับ เพราะราคาก็เอาเรื่องอยู่ ถึงจะมีการแข่งขันในตลาดมาก แต่เรื่องของราคาก็เรียกว่าซื้อเอามาเก็นเล่นๆ คงไม่คุ้มแน่ๆ ระบบนี้เริ่มเข้ามามีบทบาทเมื่อมีการพัฒนาระบบโทรศัพท์ความเร็วสูง น่าจะมาหลังๆ การเริ่มมีอินเตอร์เน็ตสักพัก โดยผู้ริเริ่มก็คือบริษัท AT&T อเมริกานั่นเอง 

            สำหรับประเทศไทยหลังจากได้มีการพัฒนาระบบ ISDN ก็เริ่มมีอุปกรณ์ประเภทนี้เข้ามาให้เห็นอย่างแพร่หลาย โดยระบบนี้เรียกกันว่า Video call ก็มีพัฒนาการคล้ายๆ กับระบบโทรศีพท์ครับ คือเริ่มจาก Point to point มาสู่ระบบ Multi point และมีการพัฒนาเรื่อยมา จากการรับส่ง ภาพและเสียง ก็ได้เริ่มพัฒนาให้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อส่งภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปให้ผู้ร่วมประชุมในสถานที่อื่น สามารถรับภาพ และเสียงได้จากสื่อหลายชนิด 

            ในปัจจุบันรูปแบบการประชุมทางไกลระบบนี้ ได้พัฒนาสู่ความละเอียดระดับ Full HD ในที่สุด รูปแบบการประชุมทางไกลระบบนี้ยังมีอีกหลายชื่อ เช่น  videotelephony, videoteleconference,Video call เป็นต้น

 Web conference

            รูปแบบสุดท้ายนี้เรียกได้ว่าใช้กันอย่างแพร่หลาย และประหยัดที่สุด นั่นก็คือการประชุมทางไกลกันผ่านระบบเว็บไซต์ รวมถือ App ต่างๆ บนมือถือ และแท๊บเล็ต ถ้าจะให้ย้อยอดีตไปเมื่อนานมาแล้วระบบนี้แรกเริ่มมันคือ Web cam มีการร่วมกันพัฒนาบน PC ก่อนทั้งแบบ open source และการพัฒนาโดยบริษัทในเชิงพาณิชย์ ถ้าจะย้อนไปถึงยุคแรกๆ เลยผมก็ไม่เห็นถึงประโยชน์เพราะโปรแกรม และเว็บเหล่านั้นไม่มีผู้ใช้บริการอีกแล้ว เอาที่ดังๆ ในไทยดีกว่า Camfrog, MSN และตามติดมาด้วย Skype และอื่นๆ อีกมากมายจนแทบบรรยายไม่หมด
     

      รูปแบบการนี้ยึดการทำงานบนอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก (TCP/IP) โดยผ่านโปรแกรมเพื่อรับ และส่งสัญญาณภาพและเสียง ที่ถูกแปลงมาจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แล้ว ถึงแม้ระบบนี้จะมีราคาถูก และใช้งานง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดที่คุณภาพของภาพและเสียงยังไม่ดีนัก และการประชุมพร้อมกันหลายๆ คนยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร (ถ้าจะดีก็ไม่ฟรีนะจ๊ะ) แต่ถึงอย่างไรระบบนี้ก็มีอนาคตที่ยาวไกลพอดู

            สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะใช้รูปแบบการประชุมทางไกลระบบไหน ความพร้อมขององค์ประอบต่างๆ กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญทีี่จะส่งให้การประชุมนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งแน่นอน ผมจะนำข้อมูลมาเสนอให้ทุกท่านได้อ่านต่อๆ ไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น